ต้นทุนของการใช้นักรีวิว
เชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยได้ยินและคุ้นเคยกับประโยคที่ว่า “ทุกอย่างมีต้นทุนของมัน” เป็นอย่างดีวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องต้นทุนทางอ้อมและทางตรงของการตลาดในรูปแบบการใช้นักรีวิว บุคคลที่มีชื่อเสียง หรือ Influencer Marketing ที่คุณอาจไม่เคยนึกถึงมาก่อน! เช่นเดียวกันกับการตลาดในรูปแบบอื่น การใช้นักรีวิวนั้นก็มีต้นทุนแฝงนอกเหนือจากค่าจ้างนักรีวิวมากกว่าที่คุณคิด ต้นทุนที่ว่านี้รวมไปถึงเรื่องของทุนด้านเวลาและทรัพยากรต่าง ๆ ที่ทางผู้ว่าจ้างจะต้องจัดสรรให้เพื่ออำนวยความสะดวกรวมถึงการบริการจัดการเรื่องต่างๆ ตลอดระยะเวลในการทำแคมเปญ
โดยหลักๆ แล้วในบทความนี้เราจะแบ่งต้นทุนของการใช้นักรีวิวออกเป็นท้้งหมด 4 หัวข้อใหญ่ๆ ด้วยกันดังนี้
1.แน่นอนว่าต้นทุนแรกที่ทุกคนต้องนึกถึงคือ “ค่าตัวนักรีวิว” หรือที่เราเรียกกันว่า บัดเจ็ท (budget)/BG ซึ่งบัดเจ็ทในที่นี้มีตั้งแต่หลักไม่กี่ร้อยไปจนถึงหลักแสนหลักล้านกันเลยทีเดียว โดยค่าตัวต่างๆ เหล่านี้ถูกกำหนดด้วยหลายปัจจัย ทั้งจากตัวประเภทของผลิตภัณฑ์-บริการของแบรนด์ ความยากง่ายในการนำเสนอ เงื่อนไขหรือรายละเอียดของงาน รวมไปถึงยอดผู้ติดตามของนักรีวิวก็มีผลสำหรับค่าจ้างนักรีวิวเช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่แล้วหลักๆ เลย ค่าจ้างนักรีวิวนั้นจะแปรผกผันไปตามยอดผู้ติดตาม หรือก็คือ ยิ่งผู้ติดตามมาก ค่าตัวยิ่งแพงนั่นเอง! แต่ทริคเล็ก ๆ ในการเลือกนักรีวิวเราในฐานะเจ้าของแบรนด์หรือนักการตลาดที่ชำนาญแล้วเราต้องฉลาดเลือกนักรีวิวให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้าและบริการ ที่สำคัญคือต้องไม่ลืมพิจารณายอดกดไลก์ ยอดแชร์ และคอมเมนต์ในแต่ละโพสต์องนักรีวิว หรือที่เราเรียกกันว่ายอด engagement หรือก็คือ ยอดการมีส่วนร่วมระหว่างนักรีวิวและผู้ติดตาม หากเป็นนักรีวิวที่มียอดฟอลสูงแต่ความเป็นจริงแล้วมี engagement ที่ต่ำเท่ากับคนที่มียอดฟอลน้อยกว่าหลายหมื่น การพิจารณานักรีวิวที่มียอดฟอลไม่มากนักแต่มี engagement ที่สูงก็อาจจะคุ้มค่ากว่าในด้านการลงทุนและผลลัพธ์ที่ได้กลับมา
2. “ค่าสินค้าและค่าบริการ” อีกหนึ่งต้นทุนที่ทางแบรนด์ต้องจัดสรรและบริหารจัดการให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด แม้จะเป็นสินค้าหรือบริการที่มีอยู่แล้ว แต่อย่าลืมว่านี่ก็เป็นอีกหนึ่งต้นทุนที่แบรนด์ต้องเสียไปเช่นเดียวกัน
3. “ค่าเสียเวลาในการจัดการแคมเปญ” อย่างที่เกริ่นไปในตอนแรกว่าด้วยเรื่องของเวลา หลายคนมักลืมนึกถึงสิ่งนี้ไปแต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น ค่าเสียเวลาก็นับเป็นอีกหนึ่งต้นทุนที่ใหญ่กว่าที่ทุกคนคิด ค่าเสียเวลาของการจัดการแคมเปญนักรีวิวนั้นเริ่มตั้งแต่กระบวนการ คิดเพื่อสร้างแคมเปญ การกำหนดวัตถุประสงค์อะไร (objective) และ กลุ่มเป้าหมาย (target) ของแคมเปญ การวางแผน การค้นกานักรีวิว การติดต่อประสานงานรวมถึงการจัดการนัดหมายนักรีวิวตลอดไปจนถึงการตามงานเมื่อจบแคมเปญ
ขั้นตอนการค้นหานักรีวิวตั้งแต่วันแรกไปจนถึงการนัดตกลงเงื่อนไขรายละเอียดและดำเนินการจนแคมเปญเสร็จสิ้นนั้นอาจจะกินเวลาตั้งแต่หลักสัปดาห์ไปจนถึงเดือน และบางครั้งอาจลากยาวไปจนถึงปีเลยทีเดียว ผู้จัดการแคมเปญนั้นควรต้องวางแผนเรื่องของเวลาให้รัดกุมตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายของแคมเปญเพื่อไม่ให้ค่าเวลาตรงนี้นั้นลุกลาม อีกทั้งในบางแคมเปญที่เราจะต้องใช้นักรีวิวหลายคนตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักร้อย ทุนด้านเวลาการประสานงานตรงนี้อาจมหาสารกว่าที่เคยคิดเอาไว้ด้วยซ้ำ ตัวกลางในการติดต่อประสานด้านการนัดหมายต่าง ๆ จึงอาจเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่เราสามารถจัดหาแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อจ่ายต้นทุนตรงนี้ที่ต่ำกว่าได้
4.ต้นทุนสุดท้ายที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้คือ “ทุนด้านการเข้าใช้สถานที่ในการรีวิว” ในบางแคมเปญนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สถานที่ในการถ่ายทำรีวิว ไม่ว่า จะเป็น คาเฟ่ ร้านอาหาร สตูดิโอ หรือสถานที่ในการให้บริการ การใช้สถานที่เหล่านี้นั้นมองเผินๆ อาจจะไม่มีอะไรแต่ลึกๆ แล้วข้างในคือโอกาสในการใช้สถานที่เพื่อเพิ่มการขายให้กับร้านค้านั้น ดังนั้น การจัดการเรื่องการเข้าใช้สถานที่ของนักรีวิวเพื่อให้ทำคอนเทนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงต้องแลกมาด้วยการอำนวยความสะดวกในการเข้าใช้และโอกาสในการขายสำหรับการใช้สถานที่เช่นเดียวกัน การนัดหมายจัดคิวให้นักรีวิวจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีการฟิกไว้เพื่อควบคุมต้นทุนในด้านนี้
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เชื่อว่า หลาย ๆ คนน่าจะเห็นภาพต้นทุนของการใช้นักรีวิวมากขึ้นว่ามีอะไรมากกว่าที่คิด อย่างที่เขียนไปในช่วงต้น หากเรามีการวางแผนมาอย่างครอบคลุม มีแผนสำรอง มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การติดตามงานจากนักรีวิว เราจะสามารถควบคุมต้นทุนในการทำแคมเปญได้เป็นอย่างดีและเกิดผลลัพธ์ที่คุ้มค่าน่าพึงพอใจอย่างเราคาดหวังเอาไว้ หรือหากการคำนวณต้นทุนเหล่านี้มันมากเกินไปก็สามารถมองหาเอเจนซี่ที่ช่วยแบ่งเบาควบคุมต้นทุนของคุณได้เช่นเดียวกัน ที่ Line OA @instants